top of page
สมเด็จแช่น้ำมนต์ ป้องกันโรคห่า

พระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จแช่น้ำมนต์
ในสมัยยุคแรกๆ ได้มีการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังที่มีวรรณะสีเขียวเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงสีที่ใช้นั้นมาจากพืช โดยการใช้ต้นตำลึง และต้นคระไคร้นำมาคั้นจนได้น้ำสีเขียวนำมาผสมกับส่วนผสมตามสูตร สร้างเป็นพระสมเด็จวรรณะสีขาว หรือสีเขียวซึ่งสามารถนำมาแช่ทำน้ำมนต์รักษาโรคได้ โดยเฉพาะโรคอหิวาตกโรค (โรคห่า) จากนั้นก็จะมีการสร้างจากหินลับมีดโกนที่สึกกร่อนจากการลับมีดที่ใช้ปลงผมพระ นำมาย่อยสลายด้วยการตำบดให้ละเอียดจัดสร้างเป็นพระสมเด็จวัดระฆังเนื้อหินลับมีดโกนขึ้น พระชุดนี้ (พระสมเด็จเขียว หรือ พระสมเด็จปีระกา) มีทั้งหมดหกพิมพ์ ได้แก่ พิมพ์ประธาน พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ปรกโพธิ์ (ปรกโพธิ์เม็ดและปรกโพธิ์บาย) พิมพ์สังฆาฏิ (มีหูและไม่มีหู) พิมพ์ฐานคู่ และพิมพ์ฐานแซม จำนวนการสร้างประมาณหนึ่งหมื่นองค์

เหตุแห่งความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนเป็นอย่างยิ่งต่อพระสมเด็จชุดนี้ก็เมื่อครั้งเกิดอหิวา หรือโรคห่าระบาดใหญ่ ในวันเสาร์ เดือน ๗ ปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ เกิดระบาดนานถึง ๓๐ วัน มีผู้คนล้มตาย เป็นอันมากไม่ว่าเจ้าไม่ว่านาย บ่าวไพร่ และประชาชนโดยทั่วไป ตามพระราชพงศาวดารบันทึกไว้ว่ามีคนตายด้วยโรคนี้เป็นจำนวนถึงหลายหมื่นคน จนมีเรื่องเล่ากันว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้ไปเข้าฝันประชาชนให้อาราธนาพระสมเด็จฯมาทำน้ำมนต์ดื่มกิน และด้วยความศักดิ์สิทธิ์ผู้ที่ดื่มน้ำมนต์นี้หายจากโรคอหิวาได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง จึงมีชาวบ้านจากทั่วทุกสารทิศมาที่วัดระฆังเป็นจำนวนมาก พระสมเด็จที่ถูกเก็บไว้ที่วิหารน้อยจำนวนหลายพันองค์ถูกแจกจ่ายให้กับประชาชนโดยทั่วไปจนหมด จึงเกิดการซื้อขายขึ้นกล่าวกันว่าราคาขายในขณะนั้นเพียงองค์ละหนึ่งถึงสามตำลึงเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีอาจารย์และผู้รู้อีกหลายท่านได้เขียนไว้ในหนังสือหลายเล่ม รวมทั้งกล่าวด้วยประสบการณ์ว่าหลังจากที่โรคอหิวานี้สงบลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้มอบพระสมเด็จชุดนี้จำนวนหนึ่งให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ประชาชนโดยทั่วไปเพื่อไว้ป้องกันโรค และอีกส่วนหนึ่งนำไปบรรจุกรุไว้ที่วัดบางน้ำชน เขตธนบุรี กรุงเทพฯ นี่คือที่มาของพระสมเด็จเขียวที่แสดงอิทธิคุณ และพุทธคุณในทางรักษาโรคภัยไข้เจ็บ
 
bottom of page