top of page
ลูกหินบทคัดย่อ

พระสมเด็จ บางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิ

#บางขุนพรหม



วันนี้ขอนำเสนอ”โชว์” พระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหม พิมพ์สังฆาฏิมีหู หรือโบราณเรียกว่าสังฆาฏิหูช้าง พระองค์นี้มีผิวพรรณ สะอาดตาคราบกรุน้อย เนื่องจากเป็นพระองค์นี้น่าจะถูกนำออกจากกรุ ก่อนที่จะมีการเปิดกรุแบบเป็นทางการ หรือที่เค้าเรียกกันว่าสมเด็จตกเบ็ด แต่ก็ยังมีคราบกรุ แต่ไม่มากจึงเป็นที่นิยมปลอกผิวเอาคราบกรุออก เพื่อความสวยงาม และทำให้พิมพ์พระดูลึกขึ้น ตามความนิยมของเซียนรุ่นเก่า แต่พระองค์นี้ มีเสน่ห์ มีคราบกรุสีน้ำตาลไหม้บางๆคลุมองค์พระ ในอดีต ลักษณะของพระแบบนี้  บางท่านก็จะบอกว่าเป็นพระกรุเก่า เพราะเวลามีการซื้อขายแลกเปลี่ยนจะได้ราคามากกว่า แต่จริงๆแล้วในช่วงระยะเวลานั้น 10-20ปี ก่อนเปิดกรุแบบเป็นทางการ ในปี พ.ศ.2500 มีการลักลอบ นำออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นพระกรุเดียวกัน ทั้งหมด แล้วแต่จะพิจารณา  แต่ต้องดูแม่พิมพ์และความสมบูรณ์ของพระเป็นหลักในการจะประมาณมูลค่า เพราะพระสมเด็จกรุวัดบางขุนพรหมนั้นค่อนข้างชำรุดจำนวนมาก หาพระสมบูรณ์ยากมากจึงมีมูลค่าราคาสูงตั้งแต่เริ่มเปิดกรุ  สาเหตุของการเปิดกรุอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2500 ได้มีคนร้ายกลุ่มหนึ่งคิดจะได้พระทางลัด จึงได้ลักลอบไปเจาะองค์พระเจดีย์เสียเลยและได้พระจำนวนมาก ออกไป ทำให้กรรมการของวัดบางขุนพรหมได้ประชุมกัน แล้วพร้อมตกลงที่จะเปิดกรุพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม เพื่อที่จะนำออกจำหน่ายให้ประชาชน เพื่อนำเงินมาบูรณะวัด จึงมีการเปิดกรุเป็นทางการ โดยได้ พล.อ.ประภาส จุรุเสถียร เป็นประธานในการเปิดกรุในครั้งนั้นได้พระมาประมาณ 2,900 องค์ เป็นพระที่สมบูรณ์ และที่ชำรุดแตกหักอีกเป็นจำนวนมาก พระที่แตกในกรุออกมาจะมีคราบกรุจับหน้าเสียส่วนใหญ่ เพราะโดนดินและเศษปูนในเจดีย์ทับถม ความสวยงามเป็นรอง พระที่ทำการตกพระครั้งแรก ๆ พระที่ทำการเปิดกรุเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2500 จึงเรียกกันว่า "พระกรุใหม่" มีทั้งหมด 9 พิมพ์ พิมพ์ที่มีน้อยที่สุด คือ พิมพ์ปรกโพธิ์ คือ พบแค่ 17 องค์เท่านั้น แต่ที่พิเศษกว่านั้นก็คือ ได้พบพระของวัดเกศชัยโย และพระปางไสยาสน์ (พระนอน) อีกจำนวนไม่มากนัก พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม ไม่ว่าจะเป็นพระกรุเก่า หรือพระกรุใหม่ พุทธคุณไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าพระสมเด็จวัดระฆังเลย เพราะสมเด็จพุฒาจารย์โตพรหมรังษี ท่านได้ร่วมในการสร้างและปลุกเสก ที่มาของการสร้างพระกรุวัดบางขุนพรม นั้น มีประวัติคร่าวๆดังนี้ วัดบางขุนพรหม เป็นวัดซึ่งมีแต่ครั้งกรุงธนบุรี เดิมมีชื่อเรียกว่า "วัดวรามตาราม" แต่ชาวบ้านมักจะเรียกกันว่า "วัดบางขุนพรหม" ต่อมามีถนนตัดผ่านจึงแบ่งแยกออกเป็นสองวัด คือ วัดบางขุนพรหมใน และวัดบางขุนพรหมนอก ซึ่งมีชื่อต่อมาก็คือ "วัดอินทรวิหาร" นั่นเอง ส่วนวัดบางขุนพรหมนอก ต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเป็น "วัดใหม่อมตรส" ซึ่งเป็นวัดต้นตำนานพระกรุที่ลือชื่อก็คือ "พระสมเด็จบางขุนพรหม" ที่มีชื่อเสียงขจรขจายเป็นอย่างยิ่ง เดิมทีวัดบางขุนพรหม มีผู้อุปถัมภ์อุปการะวัดเป็นกำลังสำคัญก็คือ "พระองค์เจ้าอินทร์" และเป็นผู้ที่สนิทชิดเชื้อกับ "สมเด็จพุฒาจารย์โต" (พรหมรังสี) อริยสงฆ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างยิ่ง พระองค์เจ้าอินทร์ได้สละทรัพย์เพื่อซื้อที่ดินมอบให้แก่วัดบางขุนพรหมเพื่อขยายให้กว้างขวางเป็นจำนวนมากปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างภายในวัดให้สวยงาม ต่อมาเมื่อสิ้นพระองค์เจ้าอินทร์ ผู้มีอุปการะวัดคนต่อมาก็คือ "เสมียนตราด้วง" ต้นตระกูล "ธนโกเศศ" ท่านเป็นผู้ปฏิสังขรณ์ บูรณะวัดบางขุนพรหมหายจากการชำรุดทรุดโทรม หลังจากพระองค์เจ้าอินทร์ได้สิ้นพระชนม์ลง แต่เสมียนตราด้วงผู้นี้ก็เป็นผู้ที่เคารพและศรัทธาต่อสมเด็จพุฒาจารย์โตเป็นอย่างที่สุดถึงขนาดได้สร้างพระองค์ใหญ่ถวายแด่สมเด็จพูฒาจารย์โตก็คือ "พระหลวงพ่อโต" ซึ่งปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดอินทรวิหาร สมเด็จพุฒาจารย์โต มักจะมาจำวัดและเทศนาที่วัดบางขุนพรหมประจำ ทำให้มีความสนิทชิดเชื้อกับเสมียนตราด้วง โยมอุปถัมภ์ วัดบางขุนพรหมเป็นอย่างดี เป็นที่ทราบกันดีว่า เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โต ท่านได้เป็นผู้ที่สร้างพระสมเด็จวัดระฆัง สุดยอดของพระเครื่องของเมืองไทย ซึ่งท่านได้สร้างเมื่อปี 2409 ภายหลังจากท่านได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็น "สมเด็จพุฒาจารย์" และสิ้นสุดการสร้างเมื่อปี พ.ศ.2413 ท่านได้สร้างพระ "สมเด็จวัดบางขุนพรหม" ซึ่งเป็นพระที่มีชื่อเสียงขจรขจาย ไม่แพ้พระสมเด็จวัดระฆังเลยทีเดียว ในปี พ.ศ.2413 เสมียนตราด้วง ได้อาราธนาสมเด็จพุฒาจารย์โต ให้สร้างพระขึ้นมา เพื่อบรรจุไว้ในพระเจดีย์ที่วัดบางขุนพรหม เพื่อไว้สืบทอดศาสนาและไว้สำหรับภายภาคหน้า เมื่อยามบ้านเมืองหรือประชาชนทุกข์ร้อน ก็จะได้นำมาไว้ใช้เพื่อขจัดความทุกข์ร้อน เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตจึงอนุญาตและได้ทำการสร้าง อย่างเป็นทางการในปีดังกล่าว

📌ขอบคุณ

ดู 16 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page