top of page
ลูกหินบทคัดย่อ

พระรอดมหาวันพิมพ์ใหญ่



คำว่าแชมป์พูดเบาๆก็จี๊ด วันนี้ขอนำเสนอ สุดยอดพระเบญจภาคี”นิรันตราย”พระรอดมหาวันพิมพ์ใหญ่เนื้อเขียวนิยม ถือว่าเป็นจักรพรรดิแห่งพระนิรันตราย พระองค์นี้เป็นพระรอดพิมพ์ใหญ่ที่ถือว่าสวยมากองค์หนึ่งในวงการ เพราะมีหน้าตาขึ้นให้เห็นชัดเจน และด้วยฟอร์มพระแบบนี้ จะได้เห็นในรอบ 10 ปี เลยก็ว่าได้ พระรอดมหาวันจัดว่าเป็นหนึ่งในเบญจภาคีที่หายากที่สุดและมีอายุเก่าแก่ที่สุดในจำนวนพระเบญจภาคีทั้งห้าองค์ที่เป็นสุดยอดของวงการ เพราะมีอายุเก่าแก่ถึง 1300 ปีสร้าง สร้างในยุคหริภุญชัยโดยพระนางจามเทวี

ที่มาของชื่อ”พระรอด”เชื่อกันว่า เรียกตามนามพระฤาษีผู้สร้างคือ พระฤาษี “นารทะ” หรือพระฤาษี “นารอด” พระรอดคงจะเรียกตามนามพระพุทธรูป ศิลา องค์ที่ประดิษฐ์ฐานอยู่ในพระวิหาร วัดมหาวันที่ชาวบ้านเรียกว่า “แม่พระรอด” หรือ พระ “รอดหลวง” ในตำนานว่า คือ พระพุทธ สิขีปฏิมา ที่พระนางจามเทวี อันเชิญมาจากกรุงละโว้ พระนามนี้เรียกกันมาก่อนที่จะพบพระรอด มหาวันองค์เล็ก พระพุทธรูปองค์นี้ ที่พื้นผนังมีกลุ่มโพธิ์ใบคล้ายรัศมี ปรากฏด้านข้างทั้งสองด้าน จึงเชื่อว่าเป็นที่มาของการเรียกชื่อพระเครื่องขนาดเล็กว่า”พระรอด”และต่อท้ายด้วย”มหาวัน” ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบพระเครื่องดังกล่าวครั้งแรก ตามข้อมูลเบื้องต้นที่มีการบันทึกไว้

“อ.ตรียัมปวาย” เขียนเรื่องพระรอด ไว้ในหนังสือ พระรอด พระเครื่องสกุลลำพูน เล่มแรก (พิมพ์ พ.ศ.2503)ว่า มีทั้งที่พบในกรุ (เจดีย์) และขุดหาในบริเวณวัด หลายต่อหลายครั้ง

สมัยเจ้าหลวงเหมพินธุไพจิตร ระหว่างพ.ศ.2435-2445 เนื่องจากเจดีย์เก่าชำรุดทรุดโทรมพังทลายเป็นส่วนมาก เจ้าหลวงดำริให้ปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่ โดยใช้วิธีสวมครอบองค์เก่า ระหว่างการปฏิสังขรณ์ พบพระรอดจำนวนมาก ในเศษซากปรักหักพังที่กองทับถม จัดการให้โกยเอาไปถมหนองน้ำ พระรอด ส่วนหนึ่งถูกนำบรรจุในองค์เจดีย์ใหม่ บางส่วนมีผู้นำไปสักการบูชาและบางส่วนปนอยู่กับซากเศษอิฐดินทรายที่ถมในบ่อน้ำ

พ.ศ.2451 สมัยเจ้าหลวงอินทิยงยศ ส่วนฐานเจดีย์ มีรากต้นโพธิ์ชอนไชเข้าไปทำให้องค์เจดีย์ร้าว จึงมีการรื้อส่วนฐานซ่อมขึ้นใหม่ พบพระรอดหนึ่งกระซ้าบาตรที่บรรจุไว้ครั้งก่อน เจ้าหลวงสั่งให้นำออกมาแจกจ่าย และสั่งให้พิมพ์พระรอดใหม่ จำนวนเท่ากันใส่เข้าไปในองค์เจดีย์แทน

ต่อมามีการขุดหาพระรอดในลานวัดมหาวันกันในฤดูแล้ง หลังการทำนา เมื่อมีความต้องการเพิ่มขึ้น การขุดหาก็เริ่มจริงจัง จนทั้งวัดเต็มไปด้วยหลุมบ่อ ครั้งสุดท้าย พ.ศ.2498 พบราวสองร้อยองค์

ไล่เรียงประวัติการพบพระรอด...นับแต่ครั้งแรกๆ ถึงวันนี้กว่าร้อยปี สมัยที่พระยังไม่มีราคา พระรอดจำนวนหนึ่ง ถูกนำไปลงรักปิดทองรักษาเนื้อพระ...บางส่วนถูกนำไปติดตัวใช้ สึกช้ำจนเหงื่อซึมเข้าเนื้อเห็นเป็นสีน้ำผึ้ง...

ในพระเนื้อดินด้วยกัน เนื้อพระรอดที่สึกช้ำ หนึกนุ่มกว่าพระเนื้อดินอื่นๆ ดังคำกล่าวร้อยแก้วร้อยกรองโบราณว่า

“สมเด็จบาง นางหนาท่านว่าไว้ พระรอดนุ่มหนึกในคล้ายสีผึ้ง ผงสุพรรณดินกรองต้องตาตึง ซุ้มกอซึ้งแร่มะขามงามจับใจ”

ขอบคุณ


ดู 4 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page