top of page

ประวัติความเป็นมาของ “พระปิดตา แร่บางไผ่ หลวงปู่จัน วัดโมลี” อีกหนึ่งพระดีเมืองนนฯ ที่ใครๆก็ตามหา ! 

หากเอ่ยถึงนามหลวงปู่จัน ใครหลายคนคงจะต้องนึกถึงวัตถุมงคลที่ท่านได้สร้าง ในช่วงยุคสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่กันอย่างแน่นอน และในครั้งนี้เราจะมาพูดถึงประวัติความเป็นมาของ “พระปิดตา แร่บางไผ่ หลวงปู่จัน วัดโมลี” อีกหนึ่งพระดีเมืองนนฯ ที่ใครๆก็ตามหา ! พร้อมทั้งได้นำเรื่องราวของหลวงปู่จันมาฝากกันไว้ที่นี่ เพื่อให้แฟนๆของชาวส่องพระ และผู้ที่เคารพเลื่อมใสหลวงปู่จัน ณ วัดโมลี จังหวัดนนทบุรีเป็นเดิมอยู่แล้วได้ทราบกันมากยิ่งขึ้น หากอยากทราบกันแล้วว่าจะมีเรื่องราวความเป็นมาอย่างไรบ้างนั้น เราไปชมพร้อมๆกันได้เลยดังนี้

ก่อนอื่นต้องขออนุญาตย้อนไปถึงในช่วงสมัยรัชกาลที่3 เนื่องจากได้มีการสร้างวัดโมลีขึ้นในช่วงเวลานั้นประมาณปีพ.ศ. 2369 โดยมีเจ้าอาวาสที่มีนามว่า “เถื่อน” เป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ต่อมาหลวงปู่จันก็ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสรูปที่สามแห่งวัดโมลี และท่านได้สร้างวัตถุมงคลชิ้นเอกซึ่งก็คือ “พระปิดตามหาอุด เนื้อแร่บางไผ่ ” อันสร้างชื่อเสียงโด่งดังจนกลายเป็นที่รู้จักไปทั่วทั้งประเทศ เนื่องด้วยมีพุทธคุณอันเป็นเลิศ จนได้รับการยกย่องให้เป็นพระปิดตาเนื้อโลหะที่เป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคี ซึ่งได้รับความนิยมสูงมากและในปัจจุบันนั้นก็มีราคาที่ค่อนข้างเอื้อมถึงยากเช่นกัน เนื่องจากหาของแท้ได้ยากมาก และเรียกได้ว่าเป็นที่ใฝ่ฝันของเหล่าบรรดานักสะสมพระเครื่องทั้งหลายอีกหนึ่งองค์

ประวัติความเป็นมาของหลวงปู่จัน

ประวัติความเป็นมาของ “พระปิดตา แร่บางไผ่ หลวงปู่จัน วัดโมลี” อีกหนึ่งพระดีเมืองนนฯ ที่ใครๆก็ตามหา ! 1

สำหรับหลวงปู่จันนั้นเดิมท่านเป็นชาวกัมพูชาโดยกำเนิด เกิดในประเทศกัมพูชา(เขมร) ช่วงประมาณปี 2355 ท่านได้อุปสมบทและศึกษาธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด จนได้ออกเดินธุดงค์แสวงบุญมาจากประเทศกัมพูชา จนมาถึงอำเภอบางบัวทองจังหวัดนนทบุรี ครั้งที่ท่านได้ธุดงค์มายังประเทศไทยในช่วงแรกๆนั้น ชาวบ้านในละแวกนั้นต่างพากันล่ำลือว่า มีพระที่เก่งในเรื่องรักษาโรคภัยไข้เจ็บให้กับชาวบ้านซึ่งเป็นพระชาวเขมรถึง2องค์ อีกทั้งยังมีจริยวัตรที่งดงามอันน่าเลื่อมใสจนทำให้ชาวบ้านต่างพากันศรัทธา ต่อมาเมื่อวัดโมลีได้ขาดเจ้าอาวาส จึงนิมนต์ให้พระชาวเขมรรูปนั้นได้เป็นเจ้าอาวาสวัดรูปต่อไป โดยความพร้อมใจของชาวบ้านและผู้เลื่อมใสศรัทธาในยุคนั้น ซึ่งก็คือพระภิกษุจัน นั่นเอง

จากนั้นก็ได้มีคำร่ำลือถึงพระภิกษุจันว่าท่านเป็นพระเกจิผู้มีวิชาอาคมอันแก่กล้า สามารถล่องหนยนระยะทางได้ จนเป็นที่ร่ำลือไปทั่วทุกสารทิศในช่วงเวลานั้นอีกทั้งยังมีวิชาสักยันต์ ทำน้ำมนต์ อาบว่านยา พร้อมทั้งลงกระหม่อมได้และมีวิชาอื่นๆอีกมากมาย ที่ได้ประสิทธิ์ให้กับบรรดาเหล่าลูกศิษย์ลูกหาจนมีชื่อเสียงโด่งดังและร่ำลือกันว่าขลังมากๆ จนวัตถุมงคลที่ท่านได้สร้างขึ้นมากลายเป็นที่นิยม ต่อมาในช่วงปี 2437 ท่านได้มรณภาพ โดยได้ครองตำแหน่งเจ้าอาวาสแห่งวัดโมลียาวนานถึง 42 ปี และมีอายุได้ 82 ปี สร้างความโศกเศร้าและอาลัยให้กับลูกศิษย์และชาวบ้านผู้เลื่อมใสศรัทธายิ่งนัก

เนื้อมวลสารของ พระปิดตามหาอุด เนื้อแร่บางไผ่

เนื่องด้วยหลวงปู่จันทร์ท่านเป็นผู้ที่ชอบเล่นแร่แปรธาตุ เพื่อเสาะหาธาตุโลหะที่มีความศักดิ์สิทธิ์ จนได้พบกับแร่บางไผ่ซึ่งเป็นแร่เหล็กชนิดหนึ่ง จึงได้นำมาสร้างพระ ซึ่งหนึ่งวัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงโด่งดังและใช้แร่บางไผ่ในการสร้างก็คือ “พระปิดตามหาอุด” ซึ่งท่านได้สร้างขึ้นเมื่อประมาณช่วงปีพ.ศ. 2425 ซึ่งมีรูปลักษณะอันโดดเด่นและมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากใครๆ ก็คือ การวางเส้นยันต์ซึ่งจะมีการนำมาปั้นเป็นเส้นกลมๆคล้ายกับเส้นขนมจีน และท่านจะให้พระที่เป็นลูกศิษย์ปั้นหุ่นเทียนเป็นรูปองค์พระทั้งองค์ แล้ววางเส้นยันต์ลงไป

สำหรับแร่บางไผ่ที่นำมาใช้นี้จะมีความเปราะบางที่สามารถแตกได้หากตกหรือถูกกระเทาะอย่างรุนแรง เป็นแร่สนิมที่กินตัวเอง และหากไม่ชโลมน้ำมันจันทร์เอาไว้เป็นอย่างดีก็อาจจะเกิดสนิมจนสามารถกินตัวเองจนหมดได้

พุทธลักษณะของพระปิดตา พระปิดตามหาอุด เนื้อแร่บางไผ่

ประวัติความเป็นมาของ “พระปิดตา แร่บางไผ่ หลวงปู่จัน วัดโมลี” อีกหนึ่งพระดีเมืองนนฯ ที่ใครๆก็ตามหา ! 2

จะเป็นลักษณะของพระปิดตาแบบลอยองค์ ซึ่งมีเส้นสายกรมคล้ายกับเส้นขนมจีน วางพาดไปมาอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย มีความสวยงามและมีความปราณีตอย่างยิ่ง พระหัตถ์ของพระประธานจะลงมาปิดทวาร และพระหัตถ์อีกหนึ่งคู่จะปิดที่พระพักตร์ และจะมียันต์ในช่วงบริเวณพระอุระกำกับ สำหรับเอกลักษณ์ของยันต์จะเป็นรูปคล้ายเลข 8 และมียันตา “ นะ” ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน และเราจะสังเกตได้ถึงสัญลักษณ์อุณาโลม ที่มักจะถูกเรียกว่า ยันต์นะมหาอุด

ในส่วนของด้านหลังนั้นจะมีเส้นยันต์และอักขระแบบเส้นนูน ถูกวางอย่างเป็นระเบียบ ตั้งแต่ในช่วงบริเวณพระเศียรไปจนถึงส่วนล่างตรงกลางขององค์พระจะมี ยันต์เฑาะว์ขัดสมาธิ ปรากฏอยู่ และยันต์แถวล่างที่เรามองเห็นนั้นหมายถึงหัวใจของทั้งสี่ธาตุที่มีความหมายถึง ดิน น้ำ ลม และไฟ ซึ่งจะเขียนเป็นอักษรว่า “นะ มะ พะ ทะ” นั่นเอง

และนอกจากนี้ยังได้มีการแยกพิมพ์เป็นพิมพ์ต่างๆ ซึ่งได้แก่พิมพ์หมวกแก๊ป, พิมพ์เศียรเงาะ, พิมพ์ทองหยอด, พิมพ์สามหน้าและอื่นๆอีกมากมาย จะมีรูปลักษณะที่แตกต่างกันและไม่ซ้ำแบบกัน เนื่องจากการปั้นหุ่นเทียนของแต่ละองค์พระที่ไม่เท่ากันนั่นเอง

ประวัติความเป็นมาของ “พระปิดตา แร่บางไผ่ หลวงปู่จัน วัดโมลี” อีกหนึ่งพระดีเมืองนนฯ ที่ใครๆก็ตามหา ! 3

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับเรื่องราวของ ที่เราได้เล่าให้ฟังกันไปเมื่อสักครู่นี้ หวังว่าท่านผู้อ่านจะชื่นชอบและได้ทราบเรื่องราวของพระปิดตาแร่บางไผ่ กันได้มากินขึ้นนะคะสำหรับวันนี้ต้องขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่คอยติดตามเรื่องราวที่เกี่ยวกับพระเครื่องจากพวกเราชาวสองพระอย่างเสมอมาและกลับมาพบกับพวกเราได้ใหม่ในครั้งต่อไปสำหรับวันนี้ต้องขออนุญาตลากันไปก่อนขอให้ทุกท่านโชคดีและมีสุขภาพที่แข็งแรง song-pra

เครดิต : 666slotclub.com

#ประวตความเปนมาของพระปดตาแรบางไผหลวงปจนวดโมล

ดู 2 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด
bottom of page