top of page

ประวัติพระซุ้มกอ

278008988_2109867429185020_772544764389869891_n.jpg

พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเอกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่อมตะ ทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชิน ก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระประติมากรรม ในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระนั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ” พระกำแพงซุ้มกอ ที่ค้นพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ประกอบด้วย พิมพ์ใหญ่ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “พระกำแพงซุ้มกอดำ” พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์เล็กพัดโบก พิมพ์ขนมเปี๊ย พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปนกับศิลปะศรีลังกา โดยเฉพาะไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาอย่างเด่นชัด พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระ ใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที

ลักษณะของเนื้อที่เด่นชัดอีกประการหนึ่ง คือตามผิวขององค์พระจะมีจุดสีแดง ๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ว่านดอกมะขาม” และตามซอกขององค์พระจะมีจุดดำ ๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ราดำจับอยู่ตามบริเวณซอกของพระ”

พระกำแพงซุ้มกอ นั้นนอกจากเนื้อดินยังพบเนื้อชินและชนิดที่เป็นเนื้อว่านล้วน ๆ ก็มีแต่น้อยมาก

พระกำแพงซุ้มกอ ที่ขุดค้นพบนั้นจะปรากฏอยู่ตามบริเวณวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดฤาษีและตลอดบริเวณลานทุ่งเศรษฐี

พระกำแพงซุ้มกอ ที่ไม่มีลายกนกที่มีสีน้ำตาลนั้นจัดเป็นพระที่หาได้ยากมาก เพราะส่วนใหญ่จะมีสีดำ

พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระพุทธคุณนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะพระกำแพงซุ้มกอ มีครบเครื่องไม่ว่าเรื่อง เมตตา มหานิยม แคล้วคลาด ตลอดจนเรื่องโชคลาภ จนมีคำพูดที่พูดติดปากกันมาแต่โบราณกาลว่า “มีกูแล้วไม่จน” ประกอบกับพระกำแพงซุ้มกอ ถูกจัดอยู่หนึ่งในห้าของชุดเบญจภาคี ความต้องการของนักนิยมพระเครื่องจึงมีความต้องการสูงเพราะทุกคนต้องการแต่พระกำแพงซุ้มกอทั้งนั้น ราคาเช่าหาจึงแพงมาก และหาได้ยากมากด้วย

#พระซุ้มกอ

#เพชรน้ำเอกพระเครื่องเบญจภาคี

#พระเบญจภาคี

ลำดับการห้อยพระเบญจภาคี

สำหรับวิธีการจัดชุดพระเบญจภาคีในสร้อยคอ  หรือ วิธีห้อยพระเบญจภาคี จะมีลำดับดังนี้ 

  • ตำแหน่งกลาง พระสมเด็จวัดระฆังเป็นองค์ประธาน

  • ตำแหน่งบนซ้าย พระรอดลำพูน

  • ตำแหน่งบนขวา พระผงสุพรรณ

  • ตำแหน่งกลางซ้าย พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) 

  • ตำแหน่งกลางขวา พระนางพญา พิษณุโลก

ในส่วนของ การเรียงลำดับพระเบญจภาคี แบ่งออกได้เป็นหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การเรียงตามลำดับความนิยม หรือ เรียงตามลำดับความเก่าแก่ ดังนี้

การเรียงลำดับพระเบญจภาคี ตามความนิยม

  1. พระสมเด็จวัดระฆัง 

  2. พระรอดวัดมหาวัน 

  3. พระซุ้มกอกําแพงเพชร 

  4. พระผงสุพรรณ 

  5. พระนางพญา

การเรียงลำดับพระเบญจภาคี ตามอายุการสร้าง

  1. พระรอดวัดมหาวัน 

  2. พระกำแพงซุ้มกอ 

  3. พระผงสุพรรณ 

  4. พระนางพญา 

  5. พระสมเด็จวัดระฆัง

bottom of page