
เกี่ยวกับพระเครื่อง
แหล่งรวมพระเครื่องสยาม พระสวย พระแท้ ดูง่าย
พระยอดนิยมของเมืองไทยชาวสยาม
ยินดีต้อนรับลูกค้าทุกท่าน ทางร้านพระเครื่องมหาเดช ได้นำเสนอพระเครื่องคุณภาพ จำนวนมากมาให้ท่านเลือกสรร
โดยพระเครื่องทุกองค์เป็นพระที่มีสภาพสวย และดูง่าย เหมาะแก่การเก็บสะสม
ทางร้านยินดีรับประกันพระเครื่องที่ท่านบูชาทุกองค์ โดยพระทุกองค์เป็นพระแท้
ตามหลักมาตรฐานสากล
สนใจเชิญชมพระเครื่ององค์จริงได้ที่
ร้าน พระเครื่อง มหาเดช เปิดเวลา 10.00 - 18.00 น.
(ยกเว้นวันอาทิตย์หยุด) หรือโทร 064-980-2096
ก่อนเดินทางเข้ามา
ประสบการณ์พระเครื่อง กว่า 15 ปี ที่ทางเรายังคัดสรร
พระเครื่องคุณภาพราคาย่อมเยา
พระเครื่องมีความเป็นมาและวิวัฒนาการอันยาวนาน ก่อนจะมาเป็นพระเครื่องนั้นได้เกิดพระพิมพ์ขึ้นมาก่อน เมื่อบริบททางสังคมเปลี่ยนไป คติการสร้างพระพิมพ์ก็เปลี่ยนแปลงไปและเลือนหายไปในที่สุด พระพิมพ์บางส่วนกลายมาเป็นพระเครื่อง พระพิมพ์เป็นของเก่าแก่ที่ได้มีผู้ทำขึ้นตั้งแต่ตอนต้นพุทธศาสนา มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศอินเดีย การแผ่ขยายอิทธิพลทางพุทธศาสนาไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทำให้พระพิมพ์ซึ่งเป็นประติมากรรมเนื่องในคติทางพุทธศาสนาได้แผ่กระจายไปยังดินแดนต่าง ๆ พร้อมกับคำสอน ความเชื่อทางพุทธศาสนา พระธาตุและพระบรมสารีริกธาตุ รวมถึงวัตถุเนื่องในพุทธศาสนาด้วย
พุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศไทยราวสมัยทวารวดีพร้อมกับความเชื่อเรื่องการสร้างพระพิมพ์ ในสมัยทวารวดีได้รับเอาคติความเชื่อของชาวอินเดียเข้ามาโดยตรงส่งผลให้การสร้างพระพิมพ์ในสมัยทวารวดีมีวัตถุประสงค์การสร้างเหมือนกับอินเดีย คือ การสร้างพระพิมพ์เพื่อสืบพระศาสนาซึ่งเป็นความเชื่อที่เกี่ยวเนื่องกับเรื่องปัญจอันตรธานซึ่งปรากฏในคัมภีร์พุทธศาสนา เมื่อพุทธศาสนาแผ่ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย ความเชื่อเรื่องการสร้างพระพิมพ์ก็เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่าง ๆ แต่ละพื้นที่ อาทิ พุทธศาสนาสมัยศรีวิชัยได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนานิกายมหายานที่มีความเชื่อเรื่องการบำเพ็ญบุญเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ ส่งผลให้การสร้างพระพิมพ์ในสมัยศรีวิชัยจากที่สร้างพระพิมพ์เพื่อสืบพระศาสนาเปลี่ยนแปลงไปสู่การสร้างเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตายและเป็นการสะสมบุญเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ในภายหน้า เป็นต้น
ในสมัยอยุธยาเริ่มมีการสร้างพระพิมพ์เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล ความศักดิ์สิทธิ์ และดลบันดาลให้เกิดอานุภาพต่าง ๆ สำหรับพกเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจเวลาไปสงครามแทนการพกเครื่องรางแบบเก่า เช่น ผ้าประเจียด (ผ้ายันต์ที่ใช้ผูกแขนหรือคล้องคอ) ตะกรุด พิสมร เป็นต้น ต่อมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์เกิดการเปลี่ยนแนวคิดทางพุทธศาสนา อีกทั้งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและวิทยาการจากชาติตะวันตก การสร้างพระพิมพ์เพื่อใช้เป็นเครื่องรางของขลังได้รับความนิยมมากขึ้น พระพิมพ์ที่สร้างเพื่อความเชื่อและความศรัทธาในพุทธคุณด้านต่าง ๆ เหล่านี้เรียกว่า “พระเครื่อง”


จากวิสัยทัศน์สู่การปันผลกำไร อย่างยั่งยืน และมั่งคั่ง
ความเชื่อและคตินิยม
1. เครื่องรางส่วนใหญ่ การสร้างสร้างให้มีขนาดเล็กเพื่อที่จะสามารถสร้างได้จำนวนมาก สำหรับบรรจุในเจดีย์ เพื่อว่าในอนาคตเมื่อพระพุทธศาสนาเสื่อมลง วัตถุต่าง ๆ พังทลายยังสามารถพบรูปสมมุติของพระพุทธเจ้าเพื่อแสดงให้เห็นความเจริญรุ่งเรื่องของพระพุทธศาสนา
2. ใช้เป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันในการออกศึกสงครามของคนโบราณ เป็นความเชื่อทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่ง
3. ปัจจุบันนิยมนำมาห้อยคอเป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันและเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตตามความเชื่อปรัมปราของไทย
คณะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

คุณ สุรเดช ดาโสม
ประธาน

คุณ กาญจนา จีบหีด
ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์

คุณ สุรชาติ ดำริห์การ
รองประธาน

คุณ พิจิตร ดาโสม
ผู้ช่วยฝ่ายการตลาด

คุณ พิมพ์กุล วงศ์มาตย์
ผู้ช่วยฝ่ายการเงิน

คุณ อัญชลี อมาตยกุล
ผู้ช่วยฝ่ายประชาสัมพันธ์
คณะกรรมการ

คุณ สำราญ นิลประพัฒน์
คณะกรรมการ

คุณ ชลิดา กมลสินธุ์
คณะกรรมการ

คุณ สุภาวดี นพแก้ว
คณะกรรมการ

คุณ อณุภา กิตติพนังกุล
คณะกรรมการ

คุณ พัฒน์นรี ถ้ำกลาง
คณะกรรมการ

คุณ พวงพยอม ชุมไธสง
คณะกรรมการ